เลือกภาษา

5/5

Open

House

เปิดให้ลงทะเบียนแล้ว
24 เมษายน 2567

Open House
เปิดให้ลงทะเบียนแล้ว 20 มีนาคม 2567
5 พัฒนาการ ที่เด็กได้จาก “Play-based learning: การเรียนรู้ผ่านการเล่น”

5 พัฒนาการ ที่เด็กได้จาก “Play-based learning: การเรียนรู้ผ่านการเล่น”

play-based-learning

“ศักยภาพของเด็กจะถูกพัฒนาได้ดีที่สุด เมื่อเค้าได้เล่น
ได้ทดลองสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และลงมือทำด้วยตัวเอง”

Play-Based Learning คือ “การเรียนรู้ผ่านการเล่น” เป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ที่นิยมใช้แพร่หลายในโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วโลก และได้รับการยอมรับว่าเหมาะสำหรับเด็ก ซึ่งการเล่นจะช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ด้วยตัวเอง 

การเรียนรู้ผ่านการเล่น (play-based learning) ทำให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะชีวิตที่สำคัญ เช่น การเข้าสังคม การพัฒนาร่างกาย ได้ฝึกฝน และพัฒนาทางด้านความคิด ในขณะเล่นเด็กจะได้สำรวจ คิดสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหา ผจญกับความท้าทาย และใช้จินตนาการอย่างเต็มที่ 

โรงเรียนที่มีการสอนแบบ Play-Based Learning ในห้องเรียนจะมีมุมต่าง ๆ และอุปกรณ์การเล่นเตรียมพร้อมไว้ให้เด็กได้มีอิสระในการเลือกเล่นด้วยตัวเอง ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย สนุกสนาน ไร้ความกังวล และปราศจากความเครียด เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ช่วยให้เด็ก ๆ ได้พัฒนาตัวเอง พัฒนาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมภายนอก หรือโลกที่อยู่รอบตัว ช่วยให้เด็กเติบโตได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข

what-is-play-based-learning

การเรียนรู้ผ่านการเล่น (play-based learning) ช่วยเสริมสร้าง 5 อย่างด้วยกัน

1. Social and Emotional Skills : พัฒนาการทางด้านสังคมและความรู้สึก

play-based learning ช่วยพัฒนาทักษะการเข้าสังคมกับเพื่อน ๆ ในกลุ่มผ่านการเล่นด้วยกัน การรอเพื่อถึงคิวของตัวเอง (take turns) การแบ่งปัน การร่วมมือกัน การสื่อสารให้ประสบผลสำเร็จ การแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะเมื่อเกิดข้อขัดแย้งขึ้นมาในระหว่างการเล่น ซึ่งทักษะนี้เป็นทักษะสังคมที่จำเป็น โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เมื่อเริ่มเรียนรู้การเข้าสังคม จะเห็นได้ว่าเวลาพาเด็ก ๆ ไปเล่นกับเพื่อนใหม่ หรือในเด็กที่ไม่เคยออกไปเล่นที่ไหนมาก่อน จะพบว่ามีสถานการณ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน ที่สอนให้เด็กได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะ “ทักษะการเอาตัวรอด”

ในสังคมปัจจุบันปัญหาการกลั่นแกล้งภายในโรงเรียน (school bullying) เกิดขึ้นให้เห็นบ่อยครั้ง เด็กบางคนเล่นแรงเกินไป ชอบบงการ สั่งการ แต่เมื่อลูกของเราพัฒนาทักษะการเข้าสังคม เรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมแล้ว เขาจะสามารถแก้ไขปัญหาเมื่อเจอสถานการณ์เช่นนี้ได้

2. Language and Literacy Development : ทักษะด้านภาษาและการอ่านออกเขียนได้

ช่วงเวลาของการเรียนรู้ในโรงเรียนนั้นเป็นช่วงเวลาสำคัญในการที่จะพัฒนาด้านคำศัพท์ การเรียนรู้ผ่านการเล่นจะช่วยส่งเสริมการพูดคุยและสื่อสารโดยธรรมชาติ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาทางด้านภาษาและการอ่านออกเขียนได้ในที่สุด 

แม้แต่ตอนที่เด็กเล่นคนเดียว เราจะสังเกตได้ว่าเค้าจะพูดคุยสื่อสารกับตัวเอง โดยบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับของเล่นนั้น ๆ หรือเล่นบทบาทสมมุติ เมื่อเด็กได้เล่นกับเพื่อนคนอื่น ๆ จะยิ่งช่วยเสริมสร้างการเล่าเรื่องราว การโต้แย้ง การเล่นตามบทบาทที่ได้รับ และมีเป้าหมายร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น การเล่นทำกับข้าว เด็ก ๆ จะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นว่าจะทำอาหารอะไร และใครจะเป็นคนลงมือทำ ใครจะเล่นเป็นคุณแม่-คุณพ่อ หรือเด็กน้อยในบ้าน

คุณครูมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านภาษา โดยการส่งเสริมการพูดคุยสนทนากันในชั้นเรียน แนะนำคำศัพท์ใหม่ ๆ การถามคำถาม การส่งเสริมให้มีการยกมือถามเป็นต้น

play-based-learning-help-develop-creative-thinking-skills

3. Creativity and Imagination : ทักษะการสร้างสรรค์และจินตนาการ

ทักษะด้านนี้เป็นทักษะที่พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นการเรียนรู้ที่เด็ก ๆ จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-directed) โดยเฉพาะในเด็กที่ได้มีโอกาสเล่นอย่างเต็มที่ เด็ก ๆ จะได้เลือกสิ่งแวดล้อมที่ต้องการเล่น และได้เล่นอย่างสร้างสรรค์โดยปราศจากความกดดัน 

เมื่อเด็ก ๆ ลองเล่นเป็นคุณหมอ สัตวแพทย์ คุณแม่ คุณครู ใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ รอบตัวในการสร้างสรรค์ให้เป็นอย่างใจ เช่น ท่อนไม้คือมีด สิ่งเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างทักษะความคิดสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหา และมีความคิดสร้างสรรค์ในการเปลี่ยนสิ่งของรอบตัวให้เป็นสิ่งต่าง ๆ ตามจินตนาการ อีกทั้งยังเป็นการช่วยส่งเสริม Design Thinking หรือวิธีการออกแบบความคิดเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาอีกด้วย

4. Courage : ความกล้าหาญ

ความกล้าหาญ และความอยากทดลองสิ่งใหม่ ๆ รอบตัวอย่างมั่นใจ เป็นทักษะสำคัญที่สามารถสร้างได้จากการเรียนรู้ผ่านการเล่น การที่จะให้เด็ก ๆ อยากที่จะเรียนรู้โดยไร้ความกดดันนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการเล่นทำให้รู้สึกเป็นอิสระและเสริมสร้างความสุขในการเรียน

5. Motor Skill : ทักษะด้านร่างกาย

การเล่นสามารถเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทั้งมัดเล็กและมัดใหญ่ การวาดรูประบายสี  การต่อบล๊อคสร้างบ้าน และการเล่นบทบาทสมมุติ ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor) ส่วนการปีนป่าย การกระโดด การวิ่ง และการขว้างสิ่งของช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ 

การเลือกการศึกษาแบบการเรียนรู้ผ่านการเล่น (Play Based Learning) นั้นคือการที่ผู้ปกครองต้องการให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้อย่างแท้จริง โดยมี tips ต่าง ๆ ที่สามารถช่วยให้ผู้ปกครองเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับเด็ก ๆ ดังนี้

  1. โรงเรียนมีสนามเด็กเล่น ทั้งในและนอกอาคารหรือไม่ 
  2. ตารางเรียนมีช่วงเวลาการเล่นอย่างอิสระหรือไม่
  3. สำรวจโรงเรียนว่ามีสถานที่กว้างขวาง เพียงพอสำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆ หรือไม่ และมีอุปกรณ์การเล่นที่มากพอสำหรับให้เด็ก ๆ ได้เล่นหรือไม่ โดยเฉพาะ ห้องที่มีแสงสว่างเพียงพอ อุปกรณ์ที่ส่งเสริมการรับรู้สัมผัส รวมไปถึงสถานที่เล่นบทบาทสมมุติ       
  4. พูดคุยกับคุณครูผู้สอน เพื่อให้แน่ใจว่าโรงเรียนได้ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เด็กคนนั้น ๆ สนใจอย่างแท้จริง (เด็กแต่ละคนมีความสนใจในด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน)
  5. โอกาสที่โรงเรียนจะจัดให้เด็กได้เล่นทั้งกับกลุ่มเพื่อน และเล่นด้วยตัวเอง
  6. โรงเรียนมีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เด็ก ๆ ได้เลือกที่จะเล่นอย่างอิสระหรือไม่
play-based-learning-encourage-child-development

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเลือกโรงเรียนที่ให้ความสำคัญกับ play based learning หรือ การเรียนรู้ผ่านการเล่น และให้อิสระแก่เด็กได้พัฒนาตัวเองผ่านการเล่นอย่างสร้างสรรค์ มีกิจกรรมเสริมทักษะชีวิต ลดปัญหาลูกติดมือถือ รวมไปถึงมีสถานที่และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ผ่านการเล่น เพราะโดยธรรมชาติแล้ว เด็ก ๆ พัฒนาตัวตน สังคม กายภาพผ่านการเล่นโดยอิสระนั่นเอง 

เปรียบเสมือนลูก ๆ ของเราคือเมล็ดพันธุ์ที่ควรค่าแก่การปลูกในสถานที่ที่มีแสงแดด น้ำ สายลมที่เหมาะสม เพื่อการเติบโตที่ดีในอนาคต 

สามารถสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับ play based learning ของ D-PREP หรือรายละเอียดข้อมูลอื่น ได้ที่ 
CALL : 095-879-4944
CALL : 02-105-1757
LINE : @d-prep

บทความแนะนำ

Related Blog

5 วิธีช่วยพัฒนาให้เด็กมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

ความเห็นอกเห็นใจเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญในการพัฒนาทางสังคมและอารมณ์ของเด็ก ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นและความเป็นอยู่โดยรวม โดยทำให้พวกเขาฝึกความเข้าใจและแบ่งปันความรู้สึกของผู้อื่น

วิธีเลือก Career path ที่เหมาะสมให้กับลูก

พ่อแม่ทุกคนปรารถนาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูก และการชี้นำพวกเขาไปสู่เส้นทางอาชีพ หรือ career path ที่ถูกต้องถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอนาคตของพวกเขา เส้นทางอาชีพเป็นตัวกำหนดชีวิตของเด็ก และในฐานะผู้ปกครอง คุณมีบทบาทสำคัญในการปรับชีวิตให้สอดคล้องกับความหลงใหลและความสามารถของพวกเขา
lifelong learners children

แนะนำ 8 เคล็ดลับในการเลี้ยงลูกให้เป็น “Lifelong Learners”

เป็นเรื่องปกติที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องการให้ลูกเติบโตด้วยความกระตือรือร้น ต้องการที่จะเรียนรู้อย่างแท้จริง และการเลี้ยงลูกเพื่อให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตจะทำให้เขาพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต

Unlock Your Child's Potential: Explore Our Curriculum & Connect with Admissions!

Get one-on-one support & tailored advice: Chat directly with our admissions team who will answer your specific questions about the curriculum and guide you through the enrollment process smoothly.