การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา เพิ่มศักยภาพของเด็กรุ่นใหม่ ให้ก้าวทันยุคสมัย

การเปลี่ยนแปลงการศึกษาเพิ่มศักยภาพเด็กไทย

ในปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ตรงกันข้ามกับระบบการศึกษาเกือบทั่วโลก ที่แทบไม่มี การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา  ในขณะที่เด็กเกิดและโตในยุคสมัยใหม่ แต่ระบบการศึกษายังเป็นระบบเดิมที่ไม่มีการเตรียมพร้อมหรือพัฒนาทักษะที่จำเป็นให้กับพวกเขาเลย ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ เนื่องจากสภาพแวดล้อม สังคม รวมถึงทักษะความรู้ต่างๆ นั้นมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นระบบการศึกษาแบบเดิมอาจจะไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงการศึกษา จึงเป็นเรื่องสำคัญ

การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ช่วยพัฒนาศักยภาพเด็กรุ่นใหม่ได้อย่างเต็มที่ ด้วย 4 ปัจจัยนี้

1.  การผสมผสานการสอนเชิงวิชาการ และทักษะความคิดสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม และสามารถนำไปปรับใช้จริงได้ทั้งในโรงเรียน ในชีวิตประจำวัน และการศึกษาในอนาคต ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา

ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาษาและคณิตศาสตร์มีความสำคัญต่อการศึกษาของเด็กนักเรียน แต่ก็ยังมีทักษะอื่นที่สำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในด้านของความคิดสร้างสรรค์ 

ดังที่คุณ Ken Robinson ได้กล่าวในหัวข้อ TED Talk “Do Schools Kill Creativity? (โรงเรียนทำลายความคิดสร้างสรรค์ให้หมดไปจากตัวเด็กหรือไม่?) เขาได้กล่าวถึงการที่เด็กแต่ละคนเกิดมาพร้อมกับความสามารถที่จะพัฒนาทักษะต่างๆ ของตนเองได้อย่างมากมาย แต่ระบบการศึกษาในรูปแบบเดิมนั้นกลับทำให้เด็กไม่มีโอกาสได้พัฒนาและต่อยอดทักษะเหล่านั้นของตนเอง

ใครที่เคยเก่งเลขที่โรงเรียน?  ใครกันที่เก่งภาษา?
หรือใครบ้างที่ไม่เก่งทั้งเลขและภาษา?

แม้ว่าคุณอาจจะมีความสนใจและมีความสามารถในด้านอื่นๆ มากมาย แต่อาจถูกมองข้ามที่จะเป็น “คนเก่ง” ในสายตาของการศึกษาระบบเก่า ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการที่โลกของเราจะขับเคลื่อนและดำเนินไป ต้องอาศัยกลุ่มคนที่มีความสามารถในหลากหลายด้าน ไม่ใช่เพียงแค่คนที่เก่งเลขและภาษาอย่างเดียวเท่านั้น ไม่เช่นนั้นทุกวันนี้เราคงไม่มีเชฟที่ทำอาหาเลิศรส ไม่มีนักออกแบบที่น่าทึ่ง หรือแม้กระทั่งไม่มีการกำเนิดของธุรกิจใหม่ๆ ที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง

ในชีวิตจริงเมื่อสำเร็จการศึกษาและเข้าไปสู่การทำงานนั้น คนเราต้องใช้ทักษะหลากหลายด้าน ในการทำงานและใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ตัวอย่างเช่น : ศัลยแพทย์จะเปลี่ยนโลกของการรักษาให้ก้าวหน้าไปอีกขั้น จะต้องใช้ทั้งทักษะทางวิชาการและทักษะจินตนาการ เพื่อให้เกิดการคิดค้นเครื่องมือและการรักษาแบบใหม่ รวมไปถึงต้องใช้ทักษะทางสังคมในการพูดคุย จัดการต่อความรู้สึกความเจ็บปวด อีกทั้งยังต้องใช้ทักษะความเป็นผู้นำในการนำทีมการรักษาอีกด้วย

ดังนั้นโรงเรียนจึงมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการศึกษา หันมาสร้างระบบการเรียนการสอนแบบ “สหวิทยาการ” (Interdiscipinary Approch) ขึ้น เพื่อสอนให้เด็กเล็งเห็นถึงความสำคัญ การเชื่อมโยง ปรับใช้แต่ละศาสตร์ และสร้างความสนุกสนานในการผสมผสานทักษะต่างๆ เข้าด้วยกัน 

ปัจจุบันในแต่ละโรงเรียนนิยมให้เด็กศึกษาและจัดทำเป็นโครงการที่เด็กมีความสนใจ อยากรู้อยากศึกษาในเรื่องนั้นๆ อย่างแท้จริง ซึ่งจะนำไปสู่การค้นคว้าหาคำตอบ และการค้นหาทางแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนแบบนี้เป็นที่รู้จักในนาม “Project/ Problem Based Learning” (การใช้โครงการ และปัญหาเป็นพื้นฐานการเรียนรู้) 

โดยทาง D-PREP เรามีหลักสูตร Expeditionary learning คือ หลักสูตรที่เน้นให้เด็กนักเรียนค้นคว้าหาความรู้เชิงลึก (in-depth research) และทดลองทำด้วยตัวเอง ในรูปแบบของการสร้าง project ต่างๆ โดยการเรียนการสอนแบบ EL นั้น ผู้เรียนจะได้เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงทั้งในแง่การพัฒนาทักษะ พัฒนาโปรเจคนั้นๆ ให้เกิดขึ้นได้จริง รวมถึงการได้เข้าไปฝึกการทำงานอย่างเข้มข้นกับทีมผู้มีประสบการณ์  ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง และได้สำรวจตัวเองว่ามีความชอบในสายงานนั้นจริงๆ หรือไม่ เรียกได้ว่าระบบการสอนแบบ EL นั้นมีความเข้มข้น เป็นการเรียนรู้เชิงลึกที่เหมาะสำหรับเด็กโตและตอบโจทย์เด็กยุคใหม่อย่างแท้จริง

เปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา ช่วยส่งเสริมให้เด็กรักในการเรียน

2. การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาจะไม่เกิดประสิทธิภาพ หากผู้เรียนไม่มีใจรัก ไม่ได้รู้สึกสนุกต่อการเรียน แม้จะทราบดีว่าการเรียนนั้นๆ สำคัญกับพวกเค้าอย่างไร

เราอาจมีข้อสงสัยว่า ในอดีตเราเรียนอะไรไปตั้งมากมายแต่ทำไมกลับไม่เคยได้ใช้ประโยชน์เลย? แท้จริงแล้วสิ่งที่คุณได้เรียนนั้นหลายส่วนเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น แต่ขาดความเข้าใจว่าสิ่งที่กำลังเรียนอยู่นั้นสามารถเชื่อมโยงและนำไปต่อยอดการใช้งานในอนาคตได้อย่างไร

แต่สิ่งที่สำคัญคือ การเรียนรู้ควรเกิดขึ้นจากใจที่รัก อยากรู้อยากเห็น มีการตั้งคำถามมากมายเกี่ยวกับสิ่งๆนั้น รวมไปถึงการทำความเข้าใจว่าสิ่งที่กำลังเรียนอยู่นั้นสามารถนำไปใช้อะไรได้บ้าง ถึงแม้ในบางเรื่องจะเป็นเรื่องที่เราไม่ค่อยชอบก็ตาม แต่เราจะมีใจที่จะอยากเรียนรู้มากขึ้น ถ้าหากเราพบว่าสิ่งนั้นจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างไร

ไม่เช่นนั้นแล้วสิ่งที่คุณครูได้พร่ำสอน ก็คงเปรียบกับสำนวนที่ว่า “เข้าหูซ้าย ทะลุหูขวา” เรียนแล้วก็ลืม เพราะฉะนั้นโรงเรียนควรสอนสิ่งที่จำเป็นต้องสอน ไปพร้อมกับการสอนในสิ่งที่เด็กอยากเรียน หรือกระตุ้นให้เด็กอยากเรียนในสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3. ให้ผู้เรียนได้เป็นตัวของตัวเอง ค้นหาตัวตนโดยปราศจากความกลัวที่จะทำผิดพลาด

แนวคิดที่น่าสนใจคือ การผสมผสานระหว่างความรู้เชิงวิชาการและอิสระทางความคิด ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา

ประเทศฟินแลนด์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากสำหรับการ “เล่น 50% เรียน 50%” โดยปล่อยให้เด็กยังคงได้เป็นเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็นและมีจินตนาการ เรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ได้รับการส่งเสริมช่วยเหลือในสิ่งต่างๆ โดยปราศจากการบังคับ การได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและเหมาะสม โดยคุณครูมีส่วนช่วยสนับสนุน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการเรียนรู้ที่ดีที่สุดที่จะทำให้เด็กได้ทดลอง เจอความผิดพลาด และได้เรียนรู้จากความผิดพลาดนั้นด้วยตัวเอง 

หลาย ๆ ท่านอาจจะยังไม่เข้าใจว่าความผิดพลาดนั้นสำคัญต่อการเรียนรู้อย่างไร เพราะผู้ใหญ่มีความปรารถนาดีต่อเด็ก กลัวเด็กจะรู้สึกแย่จากการที่ต้องพบเจอความผิดพลาด กลัวว่าเด็กจะรู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอ ความรู้สึกกลัวนี้ทำให้ผู้ปกครองเข้มงวดและผลักดันลูกหลานให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น โดยที่เราอาจจะลืมตั้งคำถามกับตัวเองว่า “สิ่งที่เข้มงวดอยู่นั้นจำเป็นจริงๆ แล้วหรือ?”

คุณครูควรชื่นชมเมื่อตอนที่เด็กผิดพลาดด้วย เพราะนั่นคือสิ่งที่ยืนยันว่าเด็กได้พยายามแล้ว ไม่ชื่นชมเพียงแค่ตอนสำเร็จ นั่นจะทำให้เด็กไม่กลัวที่จะได้พยายาม ทำให้เค้าได้เรียนรู้ว่า ไม่ว่าเค้าจะทำสำเร็จหรือล้มเหลว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “ความพยายาม” และการได้เรียนรู้ระหว่างนั้นนั่นเอง

ทาง D-PREP มีหลักสูตรการเรียนแบบ Play-based learning หรือ การเรียนรู้ผ่านการเล่น ทำให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะ การเข้าสังคม การพัฒนาร่างกาย ได้ฝึกฝน และพัฒนาทางด้านความคิด ในขณะเล่นเด็กจะได้สำรวจ คิดสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหา เผชิญกับความท้าทาย และใช้จินตนาการอย่างเต็มที่ หรือแม้กระทั่งการเลือกใช้แนวคิดการเรียนการสอนแบบ Reggio Emilia ที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับโรงเรียนของเรา ซึ่ง Reggio Emilia คือ ระบบการศึกษาเชิงผสมสำหรับเด็กปฐมวัย มีแนวคิดที่สำคัญคือ การเรียนรู้ของเด็กจะสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โรงเรียนต้องปรับหลักสูตร

4. ไม่ว่าโลกเปลี่ยนแปลงไปในทางไหน คุณครูควรสอนทักษะที่จำเป็น เกี่ยวข้อง มีประโยชน์และประยุกต์ใช้ได้จริงอยู่เสมอ

โรงเรียนควรมีเอกลักษณ์ของตนเองเหมือนกับผู้ปกครองแต่ละบ้านที่จะมีเอกลักษณ์ของตนเองเช่นกัน โรงเรียนควรจัดสรรระบบการศึกษาที่ตอบโจทย์และเข้ากันกับตัวตนของเด็กแต่ละคนที่ต่างก็มีความหลากหลาย เนื่องจากระบบการศึกษาเดียวที่ใช้กับทุกครอบครัวจะไม่ได้ผลอีกต่อไป

ดังนั้นโรงเรียนควรสร้างสรรค์ระบบการเรียนรู้ใหม่ๆ เพื่อตามให้ทันการเปลี่ยนแปลงการศึกษา โดย

  • ให้ความสำคัญกับการเข้าใจตัวตนของนักเรียนเอง และสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของตัวเองได้
  • ส่งเสริมให้เด็กสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้นั้นๆ ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริง
  • พัฒนาตัวตนและทักษะชีวิตในภาพรวมโดยไม่สอนแต่ทักษะทางวิชาการเพียงอย่างเดียว

โรงเรียนควรสร้างความหลากหลายเพื่อตอบโจทย์ในแต่ละครอบครัวของผู้เรียน มีการพัฒนาตัวเองและอัปเดตข้อมูลให้ทัดเทียมโลกและสังคมปัจจุบันอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้นเราจะไม่สามารถสร้างนักเรียนที่จะเป็นบุคลากรที่จะพัฒนาธุรกิจและสิ่งใหม่ๆ ต่อไปในอนาคตได้เลยการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาให้เป็นรูปแบบใหม่ ควรมองผู้เรียนในองค์รวมไม่เพียงเฉพาะพื้นฐานทางวิชาการ แต่มอบทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในอนาคต อย่างครบถ้วนในทุกๆองค์ประกอบของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นทักษะการใช้ชีวิต  (Life Skill) การแก้ปัญหา การพัฒนาตัวเอง การเรียนรู้จากความผิดพลาด และทักษะในการคิดอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างเด็กที่พร้อมจะเติบโตอย่างมีศักยภาพ ครบถ้วนสมบูรณ์พร้อมในทุกๆ ด้าน พวกเขาจะได้เรียนรู้การพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดนิ่ง และได้ออกไปเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ รอบตัวให้ดีขึ้น เพื่อตัวของพวกเขาเอง เพื่อสังคมและเพื่อโลกใบนี้อีกด้วย

หากท่านสนใจเข้าเยี่ยมชมโรงเรียนสามารถติดต่อได้ที่

Address :
D-PREP International School
38, 38/1-3, 39, Moo 6,
Bangna Trad Rd., Km. 8,
Bang Kaeo, Bang Phli District,
Samut Prakan, Thailand 10540

Email: info@didyasarin
Google Map: https://info.dprep.ac.th/directions
เบอร์ติดต่อ: 02-105-1757, 082-1515922
Website : www.dprep.ac.th
Facebook: DprepSchool
Line: @d-prep
IG : @dprepschool

บทความแนะนำ
ลูกติดมือถือ ติดจอ แก้ปัญหาด้วย 4 กิจกรรมนี้ !
การเรียนรู้ “ทักษะชีวิต” สำคัญ และจำเป็นสำหรับลูกของเรา

The Need for Change in Education!

The world has changed a lot, but most of the education system around the world have not. This is a problem. Because when the students of today grow up, they would have spent 16+ years in an education system that did not prepare them with the skills necessary to navigate this increasingly complex world. A lot of parents are now aware that the traditional education model no longer effectively serves the children and the world of today. This article will discuss 4 main points that will be essential for all schools to adopt in order to ensure a future ready child of tomorrow.

1. Integrating academic + creative skills in a balanced way, to develop strong academic and creative skills and be able to see the interconnectedness of all subject areas and to apply these skills to use in their lives both inside and outside of school.

Language and math are still important. But it should not be more important than other areas. Human beings are complex beings who cannot flourish from develop language and mathematic skills alone. On this subject, it is recommended you watch Ken Robinson’s TED talk “Do Schools Kill Creativity?” as it clearly outlines the importance as well as lack of creativity in schools.  He talks about how children are born with tremendous extraordinary capacities but the traditional education system does not allow them to develop these capacities and so they as they grow up.

Who was good at math when you were in school? Who in here was good in language? Who in here was not good in math or language?

Even though you (parents) probably had lots of talent and interests in other areas, your school probably did not make like you were one of the “smart” ones. This is unfortunate. Because in the world, what would happen if we only had people who had skills in math and language? We would not have amazing chefs, designers, and new creative businesses…

In real life when you actually graduate and get a job, there is not any profession that utilizes any one skill alone. If you are a surgeon, you would need imagination and scientific reasoning to come up with new surgery techniques or design new machines that could change the way surgeons around the world operate. You would need social skills to empathize with patients and their families for the pain they are going through from the risk of losing a family member. You would need leadership skills to lead the rest of your team in delivering the best patient care and service. For this reason, schools need to teach through the interdisciplinary approach to teaching, teaching children to see the connection, importance, and fun of integrating different subjects and skill sets into one project where they seek to engage in in depth learning about something they are extremely curious about or to seek to find a solution to a question or problem that is important to them, also called project or problem based learning.

2.   Learning will not be effective if 1.) students are not passionate or enjoying what they learn 2.) even if they are not enjoying certain things, they truly understand why it’s essential for them to learn that skill.

Now how many of you often questioned why you were forced to learn certain things in school and never really got an answer that made much sense to you? I’m sure what you were taught was important but teachers need to convince students at their level of understanding why what they are teaching is really cool, fun, or relates to their lives in some meaningful way. Learning needs to happen with passion and curiosity and students need to be asking endless questions and to understand why they are learning what they are learning. For some things that we don’t like as much as others, if we understand the value or the purpose behind it, we will be much more willing to learn. 

Without either of these 2 motivating factors, learning will go in one ear, stay in their heads temporarily, and sooner or later leave the other ear. There needs to be an equal balance between teaching what’s in the curriculum and incorporating topics and issues that are truly interesting or important to the students.

3.   Allow children to be themselves and the chance to figure out who they are without becoming afraid of making mistakes.

Providing a balance of structure and freedom. Finland does this best. Play 50% Study 50%. Allow kids the chance to continue being kids. To be curious and grow deep into their imagination. To learn to solve problems on their own. To be supported to do things on their own without being told exactly what to do. This is the safest time for them to be experimenting, making mistakes, and learning from their mistakes without any real consequences, with the guidance of teachers and the safety and security of the learning environment. 

Adults, the government, the educators, and the parents did not know how important it is for children to have the freedom to make mistakes. Of course we know this is all from good intention but they or we have all been afraid that our children will fail if they make mistakes. It is this fear that our children will not be enough being who they are. Deep down, many of us still feel that we are not enough and we have this fear that our children will not be enough either, causing us to pressure ourselves and them to achieve more, do more, accomplish more without slowing down to take the time to ask ourselves if this is what really is best for them. Teachers need to celebrate and appreciate when children make mistakes because it shows they have tried, not only celebrate their successes.  Then children will be much less fearful of making mistakes because they know either way whatever the result, if they have shown effort, that is what matters most to their teachers, parents, and school.

4. Teach children skills that would be relevant, practical, and useful no matter how much the world changes.

Schools today is that schools now need to be as unique as the families they are serving. Schools need to offer a more personalized educational approach because every child, every family, and every community is unique. The old one-size-fits-all system will no longer work anymore. In this century where every market is moving away from mass to fragmentation, schools need to think different. The more different, the better it is more capable of serving its specific group of families and learning community. Schools need to be ever evolving institutions. Every school needs to be a research school, always updating itself and adjusting itself to meet the complex and every changing needs of society. As customers buying goods and services all the time, we always want to experience new kinds of restaurants, banking services, even medical innovations of all kinds. Yet it’s strange how a lot of people don’t view schools the same way. A lot of parents want traditional schools with a solid proven curriculum and there is nothing wrong with that. But even those traditional schools need to innovate, to update itself all the time, or else how can it produce students who will later produce innovative products, businesses, and services?

Our educators need to work on creating a new kind of academic program and approach to education; One that will focus on teaching students to understand themselves and how to make good decisions in their lives, one that prepares students to be adaptable and flexible in their skills for this rapidly changing world, and one that will help students to achieve their fullest potential as a whole human being, not only focusing on a few set of academic skills and forgetting who they are as people, but putting together the sum of all the parts to help them see how they can create change for themselves and their world.